วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557




ประเพณีผีตาโขน

     "ผีตาโขน" เป็นชื่อการละเล่นชนิดหนึ่ง โดยผู้เล่นทำรูปหน้ากาก มีลักษณะ น่าเกลียดน่ากลัว  มาสวมใส่และแต่งตัวมิดชิด  แล้วเข้าขบวนแห่แสดงท่าทางต่าง ๆ  ในระหว่างมีงานบุญตามประเพณีประจำปีของท้องถิ่นพื้นบ้าน  การเล่นผีตาโขน มีปรากฏในพื้นที่ต่าง ๆ  โดยเฉพาะที่อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย  การเล่นผีตาโขน มีเฉพาะงานบุญประเพณีที่ภาษาพื้นบ้านอำเภอด่านซ้าย เรียกว่า "บุญหลวง"

     "บุญหลวง" ที่วัดโพนชัย  อำเภอด่านซ้าย ในเดือนแปดข้างขึ้น นิยมทำ 3 วัน ดังกล่าว คือ วันแรกเป็นวันรวม (วันโฮม) เป็นวันที่ประชาชนตามตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ  เดินทางมาร่วมงาน  ซึ่งปกติจะนำบั้งไฟมาด้วย  โดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 04.00 น. - 05.00 น. ทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาประดิษฐานอยู่ที่วัด  โดยอัญเชิยก้อนหิน จากแม่น้ำหมันใส่พาน  ซึ่งสมมติว่าเป็นพระอุปคุตนำมาประดิษฐานไว้ที่หออุปคุต ข้างศาลาโรงธรรม  ที่เตรียมจัดไว้แล้ว  เชื่อว่าจะสามารป้องกันเหตุเภทภัยต่าง ๆ  ที่จะเกิดในงานได้  เมื่อพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จะมีการละเล่นต่าง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน  เช่น เล่นเซิ้งบั้งไฟ  ฟ้อนรำ  การแสดงผีตาโขน  การแสดงการเล่นต่าง ๆ เป็นต้น  วันที่สองของงาน  ตั้งแต่ตอนเช้าถึงบ่าย จะมี

เวลาประมาณ  14.00  น. - 15.00  น. จะมีพิธีแห่เวสสันดรและพระนางมัทรี เข้าเมือง โดยสมมติให้สถานที่นอกวัดในบริเวณหมู่บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย เป็นที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีประทับอยู่ มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ พระเวสสันดรกับพระนางมัทรี และอัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรี เสร็จแล้ว มีขบวนแห่ง คือ ทำการแห่งเข้าวัด ซึ่งสมมติว่าเป็นเมือง โดยอัญเชิญพระพุทธรูป นำหน้า ถัดไปมีพระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่ตามหลัง ต่อจากนั้น จึงเป็นขบวนแห่บั้งไฟ โดยเอาบั้งไฟมามัดรวมกันบนแคร่และมี "เจ้ากวน" นั่งบนบั้งไฟ มีขบวนการแสดง ผีตาโขน การละเล่นของประชาชนทั่วไป  โดยแห่รอบวัดสามรอบ นำพระพุทธรูป ไปประดิษฐานไว้ที่เดิม นิมนต์พระสงฆ์ลงจากแคร่ และเชิญเจ้ากวนลงจากบั้งไฟ เป็นเิสร็จพิธีแห่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง ตอนเย็นมีการจุดบั้งไฟ (เจ้ากวน คือ ผู้ชายที่ทำหน้าที่ให้ดวงวิญญาณเจ้าในอดีตเข้าทรง ชาวบ้านส่วนมาก เรียกว่า เจ้าพ่อกวน)
ผีตาโขนเล็ก
ผีตาโขนใหญ่
ผีตาโขนเล็ก
ผีตาโขนใหญ่
     การเล่นผีตาโขน จะมีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ คงจะมีการเล่นตั้งแต่มี "บุญหลวง" ขึ้น และบุญหลวงซึ่งเป็นบุญพระเวสสันดรและบุญบั้งไฟรวมกันนี้ คงมีมาแต่โบราณ ตั้งแต่ตั้งเมืองด่านซ้ายขึ้น ซึ่งคงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว และอาจมีมาแต่ เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่ มายังประชาชนไทยในภูมิภาคนี้ตั้งแต่แรก
     เมื่อทราบกำหนดการจัดทำบุญหลวงแล้ว ชาวบ้านซึ่งอยู่บริเวณใกล้วัด ที่จะทำบุญหลวง จะเตรียมเครื่องแต่งกายผีตาโขนไว้ให้พร้อม ตามประเภท ของผีตาโขน ซึ่งผีตาโขนมี 2 จำพวก ได้แ่ก่ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก หรือผีตาโขนทั่วไป
     เมื่อเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับผีตาโขนไว้ให้พร้อมล่วงหน้าแล้ว ในวันแรกของงาน ซึ่งเป็นวันรวมหรือวันโฮม ก่อนสว่าง ผีตาโขนเล็กทั้งหลาย จะไปรวมกัน ณ บ้านช่าง ที่ทำผีตาโขนใหญ่ และเมื่อทางวัดจัดทำพิธีแห่พระอุปคุตจากท่าน้ำมาประดิษฐาน ไว้ที่วัดแล้ว จะจัดขบวนแห่  โดยผีตาโขนใหญ่นำหน้าขบวน เมื่อพร้อมแล้ว ก็แ่ห่ไปยังบ้าน "เจ้ากวน"  โดยมีกลอง ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ เข้าขบวนแห่ไปด้วย เมื่อขบวน ผีตาโขนไปถึงบ้านเจ้ากวนแสดงการเล่นท่าต่าง ๆ  "เจ้ากวนไ จะออกมาต้อนรับ ขบวนผีตาโขนเลี้ยงเหล้ายาอาหารต่าง ๆ แก่ผู้ไปเยี่ยม ในขณะที่ขบวนผีตาโขน ไปเยี่ยมที่บ้าน "เจ้ากวน" นั้น จะมี "นางเทียม" หรือ "เจ้าแม่นางเทียม" (นางเทียม คือ ผู้หญิงที่ทำหน้าที่ให้วิญญาณเจ้าแม่ในอดีต ซึ่งประทับอยู่ ณ ศาลอารักษ์หลักเมือง อำเภอด่านซ้าย ที่เรียกว่า "หอหลวง" และ "หอน้อย" เข้าทรง) ไปร่วมการต้อนรับ พวกผีตาโขนด้วย เมื่อพวกผีตาโขนได้แสดงการเล่นรับประทานอาหารและเหล้า ได้เวลาอันสมควรแล้วจึงลา "เจ้ากวน" และ "นางเทียม" แห่ไปยังวัด เมื่อทำการแห่รอบวัดและแสดงการเล่นประมาณ 3 รอบ หรือตามอัธยาศัยแล้ว ขบวนผีตาโขนจะพากันแห่ไปตามละแวกบ้าน เพื่อแสดงการเล่นให้ชาวบ้านชม และขอเหล้าข้าวปลาอาหารจากชาวบ้านกิน ได้เวลาสมควรจะกลับมาที่วัด เพื่อแสดงการเล่น รอหยอกล้อผู้คนที่เดินทางมาร่วมงานจากหมู่บ้านต่าง ๆ  และหยอกล้อผู้หญิงหรือเด็ก ซึ่งพักอยู่ตามปะรำหรือบริเวณวัดด้วย ในการแห่ไปเยี่ยมตามละแวกบ้าน วันหนึ่ง ๆ  อาจไปหลายครั้ง และแยกเป็นหลายคณะ บางทีก็มีคณะเล่นเซิ้งบุญร่วมขบวนไปด้วย เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน



ประเพณีลอยเรือ

ความสำคัญ ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากิน ในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้


พิธีกรรม
ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้ บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะ เป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธี ฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยว เนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบ ครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญ
โต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน 



ประวัติความเป็นมา ประเพณีวิ่งควาย เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ชลบุรี งานนี้จัดขึ้นหลังฤดูการไถนาเพื่อให้ควายพักเหนื่อยหลังการ ใช้งานอย่างหนัก และระหว่างรอการเก็บเกี่ยวชาวนาจะนำควายมา ชุมนุมกันเพื่อถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน  รวมทั้งการซื้อขายสิน ค้าที่ตลาดจน กลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายขึ้น
    ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรีจะจัดในวัน ขึ้น 14  ค่ำ  เดือน  11  อำเภอบ้านบึงจัดในวันขึ้น  26  ค่ำ เดือน  11  วัดดอนกลาง  ตำบลแสนสุข  อำเภอชลบุรี  จัดวิ่งควายในวัน ทอดกฐินประจำปีของวัดในวันนี้ นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่ง ควายแล้ว  ยังมีการประกวดความงามของควาย  การประกวดสุขภาพของควาย  และการ  “สู่ขวัญควาย”หรือการทำขวัญควายอีกด้วย
    ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปีในวัน ก่อนออกพรรษา 1 วัน เป็นประเพณีที่เป็นมรดก ตกทอดมา แต่บรรพชนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อน จากงานในท้องนาเพื่อ ให้สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า หากปีใดไม่มีการ วิ่งควายปีนั้นควายจะเป็นโรคระบาดกันมาก เพื่อแสดงรู้คุณ ต่อควายซึ่งเป็นสัตว์ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพทำนา และเพื่อให้ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์กัน ส่วนใหญ่ จัดงานในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และอำเภอบ้านบึง เดิมมีแต่คนในท้องถิ่นรู้จัก แต่ในปัจจุบันประเพณีวิ่ง ควายเป็นประเพณีประจำจังหวังชลบุรี ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    ในอดีตประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีวิ่งควายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ว่าถ้าควายของ ใครเจ็บป่วย เจ้าของควายควรจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ และเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำ ควายมาวิ่งแก้บน ฉะนั้น ในปีต่อๆ มาชาวบ้านก็นำควายของตนมาวิ่งเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเสียแต่เนิ่นๆ
                                                               
      ส่วนความเชื่อในทางศาสนาพุทธนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านมา ชุมนุมกัน ที่วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี เพื่อนำเครื่องกัณฑ์ใส่ ควายเทียมเกียวนมาพักที่วัด เพื่อจะรอการติดกันเทศน์ในเทศกาล เทศน์มหาชาติ ขณะที่รอเด็กเลี้ยงควายต่างก็นำควายของตนไปอาบ น้ำที่สระบริเวณวัด เมื่อต่างคนต่างพาควายของตนไปก็เกิดมีการประ ลองฝีเท้าควายเกิดขึ้น เพื่อทดสอบสุขภาพความแข็งแรงกันการแข่ง ขันในระยะแรกๆจึงเป็นเพียงการบังคับควายขณะ วิ่งในระยะที่กำหนด และห้ามตก จากหลังควาย ต่อมาจึงเชื่อว่าการวิ่งควายได้มีการพัฒนา ขึ้นเรื่อยๆ มีการวิ่งรอบตลาด เมื่อถึงเทศกาลก่อนออกพรรษา 1 วัน ชาวบ้านร้านตลาดต่างก็จะรอดูควายที่มาวิ่งมีการ ตกแต่งควายให้สวย งามและวิจิตรบรรจงมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณีวิ่งควาย
    ส่วนขั้นตอนการวิ่งควาย ในปัจจุบันเจ้าของควายจะตกแต่งควาย อย่างงดงามด้วยผ้าแพรพรรณดอกไม้หลากสี ตัวเจ้าของควายก็แต่ง ตัวอย่างงดงามแปลกตา เช่น แต่งเป็นชาวเขา ชาวอินเดียแดงหรือตก แต่งด้วยเครื่องทองประดับเพชรเหมือนเจ้าชายในลิเกละครที่แปลกตา
แล้วนำควายมาวิ่งแข่งกัน โดยเจ้าของ เป็นผู้ที่ขี่หลังควายไปด้วย ความสนุกอยู่ที่ท่าทางวิ่งควายที่แปลก บางคนขี่ก็ลื่นไหลตกลงมา จากหลังควายและคนดูจำนวนมากจะส่งเสียงกันดังอย่างอื้ออึง และมี การเพิ่มประกวดสุขภาพควายประกวด การตกแต่งควายทั้งสวยงาม และตลกขบขัน
    มีการประกวดน้องนางบ้านนา ทำให้ ประเพณีวิ่งควายมีกิจกรรมมากขึ้น ชาวเกษตรกรรมต่างก็พอใจกัน พืชพันธุ์ธัญญาหาร ในไร่กำลังตกดอกออกรวง จึงคำนึงถึงสัตว์ เช่น วัว ควาย ที่ได้ใช้งานไถนาเป็นเวลา หลายเดือน ควรจะได้รับความสุขตามสภาพบ้าง จึงต่างตกแต่งวัว ควายของตนให้สวยงาม บรรดาเกษตร กรมีการสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนมีการประกวดความสมบูรณ์ของวัวและควายที่เลี้ยงกัน เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ทุกคนจะต้อง หยุดงานไปวัดในวันพระ ประเพณีวิ่งควายไม่ใช่เรื่องไร้ สาระเป็นเรื่องที่แฝงไว้ด้วยความสามัคคีธรรม คนโบราณของเราเป็นคนที่ตระหนักในความกตัญญูกตเวทิตา คุณ และมีความเมตตาธรรมสูง เห็นวัวควายทำงานให้กับคน เป็นสัตว์ที่มีคุณแก่ชีวิตจึง สืบทอดประเพณีนี้ ตลอดมา


ประเพณีแข่งเรือ

                                                           ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ความสำคัญ
การแข่งเรือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความผูกพันกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่โบราณกาล

พิธีกรรม
การแข่งเรือ นับเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติการมาเป็นเวลายาวนาน โดยถือกำหนดในวันที่มีการแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำเป็นสำคัญ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี แต่เดิมจัดขึ้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง หน้าตัวเมือง แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปจัดบริเวณหน้าวัดโสธรวรวิหาร เรือที่เข้าแข่งมีหลายประเภท ตั้งแต่เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์ ฯลฯ
การแข่งเรือยาวฝีพายแต่ละลำมีจำนวนประมาณ ๕๐ คนมีหัวหน้าควบคุมเรือ ๑ คน จังหวะการพายจะพาย ๒ ต่อ ๑ คือ ฝีพาย ๒ ครั้ง ผู้คัดท้ายจะพาย ๑ ครั้ง กติกาการแข่งขันผู้ชนะจะต้องชนะ ๒ ใน ๓ คือ เมื่อแข่งเที่ยวแรกไปแล้ว จะเปลี่ยนสายน้ำสวนกัน ถ้าชนะ ๒ ครั้งติดต่อกันถือว่าชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะจะมีการแข่งขันเที่ยวที่ ๓

สาระ
นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผูกพันกับผืนน้ำของผู้คนแล้วยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสมานสามัคคีของบุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่าอยู่ในเรือลำเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝน การทุ่มเทแรงกายแรงใจ ความพร้อมเพรียงจังหวะและการประสานสัมพันธ์ ที่ทำให้ไปสู่จุดมุ่งหมายได้โดยมิใช่อาศัยความสามารถของคนใดคนหนึ่ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น